วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
การสมัคร blog
การสมัคร
ขั้นตอนการทำ
1.เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com/
2.คลิกเข้าไปคำว่าสร้าง blog
3.จากนั้นจะมีหัวข้อ คำว่า "สร้างบัญชี google"
4.พอกรอบข้อมูลเสร็จ ให้คลิกคำว่า "ดำเนินการต่อ"
5.หลังจากที่ดำเนินการเสร็จ จะมีคำว่า " ตั้งชื่อเว็บ blog ของตนเอง
6.พอกรอบข้อมูลเสร็จ ให้คลิกคำว่า " ดำเนินการต่อ"
8.พอกรอบข้อมูลเสร็จ ให้คลิกคำว่า "ดำเนินการต่อ"
9.เป็นขั้นตอนสุดท้ายจะมีคำว่า "เสร็จสิ้น"
การสร้างข้อความ+การทำสไลด์
1.ต่อจาก ข้อที่ 9 พอคลิกคำว่า ดำเนินการต่อ หน้าต่างของบล็อกจะเปลี่ยนเป็น"แผงควบคุม"
2.จากนั้นจะเป็นหน้าการสร้างข้อความ
3..จากนั้นไปที่เว็บ YOUTUDE .com หาVDO ที่สนใจ แล้วก็อปโค้ช ตรงคำว่า Embed (เปลี่ยนหน้าข้อความจากข้อความเป็นแก้ HTML)จากนั้นก็วางลงในหน้าข้อความ
4.จากนั้นจะมีข้อความขึ้นมาอย่างนี้ เป็นต้น
5.จากนั้นก็คลิกคำว่า"เผยแพร่บทความ" จะหน้าต่างขึ้นมาแบบนี้
วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552
งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด
งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด ประจำปี 2552
ประเพณีบุญผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2534 จัดขึ้น ณ บึงผลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ กำหนดจัดวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยกำหนดการไว้ว่า วันศุกร์ แห่พระอุปคุต / วันเสาร์ ขบวนแห่ 13 กัณฑ์ / วันอาทิตย์ ฟังเทศน์มหาชาติและ แห่กัณฑ์หลอน ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ชาวบ้านร่วมกันทำเป็นขบวน ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น และ แห่กัณฑ์จอบ ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ร่วมกันทำขึ้น เพื่อเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น สำหรับในปีนี้กำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม โดยวันแรก จะมีการอัญเชิญพระอุปคุตแห่รอบเมืองร้อยเอ็ด เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น
จากนั้นจะมีพิธี “มหามงคลพุทธมนต์ พระอุปคุตเสริมบารมี” ในวันที่สองของงานคือ เริ่มเวลา 9.00 น. มีการแจกสัตสดกมหาทาน (การบริจาคสิ่งของแก่ผู้ยากไร้) และชมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง พร้อมจัดบริการขนมจีน (ข้าวปุ้น) ให้รับประทานฟรีตลอดงาน ส่วนวันสุดท้ายของงาน มีพิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ จำนวน 1,000 ก้อน) และเทศน์สังกาด (เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน) การทำบุญตักบาตร จากนั้นจะเป็นการรับฟังการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ตลอดทั้งวัน ช่วงสายๆ จะมีขบวนแห่ถวายต้นเงินหรือ ต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน ของมหาชนทั่วสารทิศเพื่อนำมาถวายพระภิกษุภายในบึงผลาญชัย นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสริมระหว่างงานอีกมากมายเช่น การจัดประกวดธงผะเหวด การประกวดภาพวาด ภาพถ่ายประเพณีบุญผะเหวด การแข่งกินขนมจีน เป็นต้น
ประเพณีบุญผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2534 จัดขึ้น ณ บึงผลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ กำหนดจัดวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยกำหนดการไว้ว่า วันศุกร์ แห่พระอุปคุต / วันเสาร์ ขบวนแห่ 13 กัณฑ์ / วันอาทิตย์ ฟังเทศน์มหาชาติและ แห่กัณฑ์หลอน ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ชาวบ้านร่วมกันทำเป็นขบวน ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น และ แห่กัณฑ์จอบ ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ร่วมกันทำขึ้น เพื่อเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น สำหรับในปีนี้กำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม โดยวันแรก จะมีการอัญเชิญพระอุปคุตแห่รอบเมืองร้อยเอ็ด เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น
จากนั้นจะมีพิธี “มหามงคลพุทธมนต์ พระอุปคุตเสริมบารมี” ในวันที่สองของงานคือ เริ่มเวลา 9.00 น. มีการแจกสัตสดกมหาทาน (การบริจาคสิ่งของแก่ผู้ยากไร้) และชมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง พร้อมจัดบริการขนมจีน (ข้าวปุ้น) ให้รับประทานฟรีตลอดงาน ส่วนวันสุดท้ายของงาน มีพิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ จำนวน 1,000 ก้อน) และเทศน์สังกาด (เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน) การทำบุญตักบาตร จากนั้นจะเป็นการรับฟังการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ตลอดทั้งวัน ช่วงสายๆ จะมีขบวนแห่ถวายต้นเงินหรือ ต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน ของมหาชนทั่วสารทิศเพื่อนำมาถวายพระภิกษุภายในบึงผลาญชัย นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสริมระหว่างงานอีกมากมายเช่น การจัดประกวดธงผะเหวด การประกวดภาพวาด ภาพถ่ายประเพณีบุญผะเหวด การแข่งกินขนมจีน เป็นต้น
ข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับบุญผะเหวด งานบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน เป็น 1 ในประเพณี ฮีต 12 ซึ่งนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็นงานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านต้องมาร่วมกัน นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังแฝงด้วยความเชื่อหลายประการเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อเรื่องพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระผู้รักษาพิธีให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีพญามารมารบกวน มูลเหตุที่ทำให้เกิดเทศน์มหาชาติ มีเรื่องเล่าในพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถรเจ้าได้ขึ้นไหว้พระธาตุเกตแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนาธรรมกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ถัดจากพระสมณะโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ตอนหนึ่งของพระมาลัยเถระกล่าวกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ว่าประชาชนชาวโลกมีความปรารถนา ใคร่อยากเกิดร่วมในศาสนาของพระองค์ จะให้ชาวโลกประพฤติปฏิบัติอย่างไร พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์เมื่อทราบความประสงค์ของมนุษย์ในโลกแล้ว จึงได้สั่งความกับพระมาลัยเถระเจ้าว่า ถ้ามนุษย์ทั้งหลายปรารถนาจะได้พบและเกิดร่วมศาสนากับพระองค์แล้ว จงรักษาศีลอย่าให้ขาด ให้ทานสม่ำเสมอแก่สมณะชีพราหมณ์ ยาจกเข็ญใจ ผู้ยากไร้ทั้งหลาย จงอย่าได้ด่าว่า ฆ่าพ่อ ตีแม่ สมณะชีพราหมณาจารย์ อย่ายุยงพระสงฆ์หมู่คณะให้แตกสามัคคีกัน ให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดกให้จบสั้นภายในวันเดียวโดยความเคารพ จึงจะได้เกิดร่วมศาสนาและพบเห็นพระองค์ การเทศน์มหาชาติมี 13 กัณฑ์ ได้แก่ 1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 79 พระคาถา 2. กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ 134 พระคาถา 3. กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ 209 พระคาถา 4. กัณฑ์ที่ 4 วนปเวสน์ 57 พระคาถา 5. กัณฑ์ที่ 5 ชูชก 79 พระคาถา 6. กัณฑ์ที่ 6 จุลพน 35 พระคาถา 7. กัณฑ์ที่ 7 มหาพน 80 พระคาถา 8. กัณฑ์ที่ 8 กุมาร 101 พระคาถา 9. กัณฑ์ที่ 9 มัทรี 90 พระคาถา 10. กัณฑ์ที่ 10 สักบรรพ์ 43 พระคาถา 11. กัณฑ์ที่ 11 มหาราช 69 พระคาถา 12. กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ 36 พระคาถา 13. กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ 48 พระคาถา ฮีต 12 คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง ...ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดีและพูดจนติด ปากว่า "ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่" ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต มาจากคำภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียม แบบแผนความประพฤติ ที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี ฮีต นั้นมี 12 ประการ เท่ากับ 12 เดือนใน 1 ปี ตามระบบจันทรคติหรือพูดอีกนัยคือ การทำบุญ 12 เดือนนั้นเอง
ฮีตที่ 1.
ฮีตที่ 1.
บุญเข้ากรรม ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่าบุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง
ฮีตที่ 2.
ฮีตที่ 2.
บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน ลานคือ ที่สำหรับตีหรือนวดข้าว การเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่า คูนลาน หรือที่เรียกกันว่าคูนข้าว ชาวนาที่ทำนาได้ผลดี อยากได้กุศล ให้ทานรักษาศีล เป็นต้น ก็จัดเอาลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า บุญคูนลาน ซึ่งกำหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึงเรียกว่าบุญเดือนยี่
ฮีตที่ 3.
ฮีตที่ 3.
บุญข้าวจี่ ข้าวจี่คือ ข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก การทำบุญมีให้ทานข้าวจี่เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าวจี่ นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ ทำในช่วงเดือนสาม เรียกว่า บุญเดือนสาม
ฮีตที่ 4.
ฮีตที่ 4.
บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ บุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่าบุญเผวส(ผะ-เหวด) หนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของ พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก บุญผะเหวด นิยมทำกันในช่วงเดือนสี่
ฮีตที่ 5.
ฮีตที่ 5.
บุญสรงน้ำ หรือ บุญเดือนห้า เมื่อเดือนห้ามาถึงอากาศก็ร้อนอบอ้าวทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยการอาบน้ำชำระเนื้อกายเป็นวิธีการแก้ร้อนผ่อนให้เป็นเย็น ให้ได้รับความ สุขกายสบายใจ อีกอย่างหนึ่งมี เรื่องเล่าว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีลูก จึงไปบนบาลพระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอลูก เวลาล่วงเลยมาสามปี ก็ยังไม่ได้ลูกจึงไปขอลูกกับต้นไทรใหญ่ เทวดาประจำต้นไทรใหญ่ มีความกรุณาได้ไปขอลูกต่อพระยาอินทร์ พระยาอินทร์ให้ธรรมะปาละกุมาร (ท้าวธรรมบาล) มาเกิดในท้องภรรยาเศรษฐี เมื่อธรรมะปาละประสูติ เจริญวัยใหญ่ขึ้นได้เรียนจบไตรเภท เป็นอาจารย์สอนการทำมงคลแก่คนทั้งหลาย กบิลพรหมลงมาถามปัญหาธรรมะปาละกุมาร (ถามปัญหาสามข้อคือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ มีศรีอยู่ที่ไหนบ้าง ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสียดผลัดให้เจ็ดวันในชั้นแรก ธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหก ธรรมบาลเดินเข้าไปในป่าบังเอิญได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบให้กันฟัง ตอนเช้าศรี อยู่ ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า ตอนกลางวันศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาน้ำหมดประพรหมหน้าอกตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าตอนเย็น ธรรมบาลจึงสามารถตอบคำถามนี้ได้) สัญญาว่าถ้าธรรมบาลตอบปัญหาถูกจะตัดหัวของตนบูชา ธรรมบาลแก้ได้ เพราะศีรษะของกบิลพรหมมีความศักดิสิทธ์มาก ถ้าตกใส่แผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งขึ้นไปในอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ก่อนตัดศีรษะ กบิลพรหมเรียกลูกสาวทั้งเจ็ดคน เอาขันมารองรับแห่รอบเขาพระสุเมรุ หกสิบนาที แล้วนำไปไว้ที่เขาไกรลาสเมื่อถึงกำหนดปี นางเทพธิดาทั้งเจ็ดผลัดเปลี่ยนกันมาเชิญเอาศีรษะท้าวกบิลพรหมมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้ว กลับไปเทวะโลก
ฮีตที่ 6.
ฮีตที่ 6.
บุญบั้งไฟ คือ การเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหกเรียกว่าบุญเดือนหก เพื่อขอฟ้าขอฝนจากเทวดาเมื่อถึงฤดูแห่งการเพาะปลูก ทำไร่ทำนา
ฮีตที่ 7.
ฮีตที่ 7.
บุญซำฮะ การชำฮะ(ชำระ) สะสางสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทินโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะ สิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอกได้แก่ ร่างกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่ จิตใจเกิดความโลภมากโลภา โกรธหลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่าบุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด
ฮีตที่ 8.
ฮีตที่ 8.
บุญเข้าวัดสา (เข้าพรรษา) การอยู่ประจำวัดวัดเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝนเรียกว่าเข้าวัดสาโดยปกติกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปดเป็นวันเริ่มต้น เรียกว่าบุญเดือนแปด
ฮีตที่ 9.
ฮีตที่ 9.
บุญข้าวห่อประดับดิน หรือบุญเดือนเก้า การห่อข้าวปลาอาหารและของเคี้ยวของกินเป็นห่อ ๆ แล้วเอาไปถวายทานบ้าง ไปแขวนตามกิ่งไม้ในวัดบ้าง เรียกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะมีกำหนดทำบุญในเดือนก้าวจึงเรียกว่า บุญเดือนเก้า
ฮีตที่ 10.
ฮีตที่ 10.
บุญข้าวสาก การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกษุและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชนะข้าวถวายตามสลากนั้นและทำบุญอย่าอื่นมีรักษาศีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก ) เพราะกำหนดให้ทำในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ
ฮีตที่ 11.
ฮีตที่ 11.
บุญออกวัดสา (ออกพรรษา) การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกว่า ออกวัดสา คำว่าวัดสาหมายถึงฤดูฝน ในปีหนึ่งมี 4 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรมสี่ค่ำเดือนแปดถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในระยะ สี่เดือนสามเดือนต้น ให้เข้าวัดก่อน เข้าครบกำหนดสามเดือนแล้วให้ออก อีกเดือนที่เหลือให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยนการทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เรียกว่าการทำบุญเดือนสิบเอ็ด
ฮีตที่ 12.
ฮีตที่ 12.
บุญกฐิน ผ้าที่ใช้ไม้สะดึงทำเป็นขอบซึ่งเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผ้ากฐินนี้มีกำหนดเวลาในการถวายเพียงหนึ่งเดือนคือตั้งแต่ แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึง เพ็ญสิบสอง เพราะกำหนดเวลาทำในเดือน 12 จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบสอง คลอง 14 คลองสิบสี่ หมายถึง ข้อกติกาของสังคม 14 ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้ 1. เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศีลแล้วตนจึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย 2. อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้ากล้าแข็ง 3. ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ(มุม)บ้านหรือแจเฮือน 4. ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน 5 เมื่อถึงวันศีล 7-8 ค่ำ 14-15 ค่ำ ให้สมมาก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู (ประตู) เฮือนที่ตนอาศัยอยู่ 6. ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน 7. ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาเอาดอกไม้ไปถวายสังฆเจ้า 8. ถึงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตัก บาตร 9. เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน (แตะ) บาตร อย่าซูนภิกษุสามเณร 10. เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายเพิ่ม 11.เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา 12. อย่าเงียบเงาพระสงฆ์ 13. อย่าเอาอาการเงื่อน (อาหารที่เหลือจากการบริโภค) ทานแก่สังฆเจ้าและอย่าเอาอาหารเงื่อนให้สามีตัวเองกิน 14. อย่าเสพกามคุณในวันศีล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต์และวันเกิดของตน
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
พระธาตุพนม
พระธาตุพนม
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม
ตำนานเรื่องเล่า
พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุงรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อมกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากนั้นยังมีทรัพย์สมบัติอีกหลายหมื่นชิ้นที่ชาวไทยถวายบรรจุไว้เป็นพุทธบูชา เฉพาะยอดฉัตรทองคำมีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม องค์พระธาตุพนมนอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวพุทธแล้ว รูปแบบการก่อสร้างขององค์พระธาตุพนมยังเป็นต้นแบบให้กับการก่อสร้างพุทธเจดีย์ในภาคอีสานและในลาวอีกมากมายหลายแห่ง
ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เป็นประเพณีประจำปีสมโภชองค์พระธาตุพนมปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนไทยลาวสองฟากฝั่งโขง
ในวันงานประเพณีประชาชนจากทุกสารทิศทั่วอีสานของไทย และชาวลาวฟากตรงข้ามต่างเดินทางกันมาร่วมพิธีกรรมมากมายมืดฟ้ามัวดิน การมหรสพสมโภชคึกคักสนุกสนานจัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสานงานหนึ่ง
วันเวลาจัดพิธีกรรม
วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
รูปแบบประเพณี
ในวันขึ้น 12 ค่ำ ต่อวันแรม 1 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจะแต่งกายชุดขาวไปกราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุพนม และถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดตลอด 5 วัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันวิสาขะ ชาวบ้านจะเวียนเทียนรอบองค์พระกันอย่างคับคั่ง และในวันรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ จะมีการรำบูชาองค์พระธาตุพนมจากชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนมถ้วนหน้า
จุดเด่นของพิธีกรรม
คือการรำบวงสรวงองค์พระธาตุพนม โดยกลุ่มชาวพื้นเมืองหลากหลายของจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะชาวผู้ไทเรณูนครที่มีกระบวนฟ้อนเรณูที่สวยงามอย่างยิ่งที่จะมาอวดลีลาการร่ายรำอันยอดเยี่ยมชนิดหาชมที่ใดอีกไม่ได้ นอกจากนั้นกลุ่มชาวไทยย้อ จากอำเภอท่าอุเทน ชาวบ้านธาตุและชาวอำเภอเมืองก็จะจัดกระบวนรำมาประกวดประชันกันเป็นพิเศษ
รายการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
รายการท่องเที่ยวสำหรับเทศกาลบูชาองค์พระธาตุพนม ควรเป็นรายการท่องเที่ยวที่ผนวกการท่องเที่ยวฝั่งตรงข้ามเมืองท่าแขก พระธาตุศรีโคตรบูรณ์ในฝั่งลาวไว้ด้วยกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วันแรก เดินทางกลางคืน กรุงเทพฯ-นครพนม เข้าที่พักกลางดึก ช่วงเช้าตื่นแต่เช้าชมหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์ ช่วงสายข้ามฝั่งไปเที่ยวเมืองท่าแขกและพระธาตุศรีโคตรบูรณ์ ฝั่งลาว ช่วงบ่ายข้ามฝั่งกลับเข้านครพนม ไปเที่ยวชมพระธาตุท่าอุเทน การทำแคนที่บ้านท่าเรือ และแวะชมแม่น้ำสองสีที่ชัยบุรี ช่วงค่ำร่วมงานพาแลงที่หมู่บ้านวัฒนธรรมเรณูนคร
วันที่สอง ช่วงเช้าไปร่วมชมการรำบวงสรวงองค์พระธาตุพนมและนมัสการองค์พระธาตุพนม ช่วงบ่ายกลับมาท่องเที่ยวในเมือง ชมวัดโอกาศศรีบัวบาน วัดพระบาทสี่รอย ปิดท้ายด้วยการช้อปปิ้งที่ตลาดอินโดจีน เดินทางกลับกรุงเทพฯ ช่วงเย็น
สินค้าที่ระลึก
ผ้าฝ้ายและไหมพื้นเมืองเรณูนคร เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน
http://www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index06.htm
http://www.ku.ac.th/e-magazine/february46/know/panom.html
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
http://th.upload.sanook.com/A0/0a4b9614e39ecdc8b32c984f6cf19d44
พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ
ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
"กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
"กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"
ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม
ตำนานเรื่องเล่า
พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุงรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อมกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากนั้นยังมีทรัพย์สมบัติอีกหลายหมื่นชิ้นที่ชาวไทยถวายบรรจุไว้เป็นพุทธบูชา เฉพาะยอดฉัตรทองคำมีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม องค์พระธาตุพนมนอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวพุทธแล้ว รูปแบบการก่อสร้างขององค์พระธาตุพนมยังเป็นต้นแบบให้กับการก่อสร้างพุทธเจดีย์ในภาคอีสานและในลาวอีกมากมายหลายแห่ง
ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เป็นประเพณีประจำปีสมโภชองค์พระธาตุพนมปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนไทยลาวสองฟากฝั่งโขง
ในวันงานประเพณีประชาชนจากทุกสารทิศทั่วอีสานของไทย และชาวลาวฟากตรงข้ามต่างเดินทางกันมาร่วมพิธีกรรมมากมายมืดฟ้ามัวดิน การมหรสพสมโภชคึกคักสนุกสนานจัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสานงานหนึ่ง
วันเวลาจัดพิธีกรรม
วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
รูปแบบประเพณี
ในวันขึ้น 12 ค่ำ ต่อวันแรม 1 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจะแต่งกายชุดขาวไปกราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุพนม และถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดตลอด 5 วัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันวิสาขะ ชาวบ้านจะเวียนเทียนรอบองค์พระกันอย่างคับคั่ง และในวันรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ จะมีการรำบูชาองค์พระธาตุพนมจากชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนมถ้วนหน้า
จุดเด่นของพิธีกรรม
คือการรำบวงสรวงองค์พระธาตุพนม โดยกลุ่มชาวพื้นเมืองหลากหลายของจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะชาวผู้ไทเรณูนครที่มีกระบวนฟ้อนเรณูที่สวยงามอย่างยิ่งที่จะมาอวดลีลาการร่ายรำอันยอดเยี่ยมชนิดหาชมที่ใดอีกไม่ได้ นอกจากนั้นกลุ่มชาวไทยย้อ จากอำเภอท่าอุเทน ชาวบ้านธาตุและชาวอำเภอเมืองก็จะจัดกระบวนรำมาประกวดประชันกันเป็นพิเศษ
รายการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
รายการท่องเที่ยวสำหรับเทศกาลบูชาองค์พระธาตุพนม ควรเป็นรายการท่องเที่ยวที่ผนวกการท่องเที่ยวฝั่งตรงข้ามเมืองท่าแขก พระธาตุศรีโคตรบูรณ์ในฝั่งลาวไว้ด้วยกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วันแรก เดินทางกลางคืน กรุงเทพฯ-นครพนม เข้าที่พักกลางดึก ช่วงเช้าตื่นแต่เช้าชมหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์ ช่วงสายข้ามฝั่งไปเที่ยวเมืองท่าแขกและพระธาตุศรีโคตรบูรณ์ ฝั่งลาว ช่วงบ่ายข้ามฝั่งกลับเข้านครพนม ไปเที่ยวชมพระธาตุท่าอุเทน การทำแคนที่บ้านท่าเรือ และแวะชมแม่น้ำสองสีที่ชัยบุรี ช่วงค่ำร่วมงานพาแลงที่หมู่บ้านวัฒนธรรมเรณูนคร
วันที่สอง ช่วงเช้าไปร่วมชมการรำบวงสรวงองค์พระธาตุพนมและนมัสการองค์พระธาตุพนม ช่วงบ่ายกลับมาท่องเที่ยวในเมือง ชมวัดโอกาศศรีบัวบาน วัดพระบาทสี่รอย ปิดท้ายด้วยการช้อปปิ้งที่ตลาดอินโดจีน เดินทางกลับกรุงเทพฯ ช่วงเย็น
สินค้าที่ระลึก
ผ้าฝ้ายและไหมพื้นเมืองเรณูนคร เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน
http://www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index06.htm
http://www.ku.ac.th/e-magazine/february46/know/panom.html
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
http://th.upload.sanook.com/A0/0a4b9614e39ecdc8b32c984f6cf19d44
วอลเลย์บอล
สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
http://www.thaivolleyball.or.th/about.html
สมาคมวอลเลย์บอลฯ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี 2502 ในชื่อสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยมี พลโทสุรจิต จารุเศรณี เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก ต่อด้วย นายบุญชิต เกตุรายนาค เป็นนายกสมาคมฯ คนที่ 2 จนถึงคนที่ 3 พันเอกอนุ รมยานนท์ ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2520 เป็นต้นมา กีฬาวอลเลย์บอลในเมืองไทย ก็ก้าวสู่ความตกต่ำอย่างน่าใจหาย จนถูกสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติ ขับออกจากการเป็นสมาชิกสหพันธ์ เนื่องจากไม่ได้จ่ายค่าบำรุง ติดต่อกันมาถึง 8 ปี ถือว่าเป็นยุคที่มืดมนที่สุด แทบจะไม่มีใครคิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้ ปี 2528 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลฯ ภายใต้แกนนำของ คุณกิจ พฤกษ์ชะอุ่ม, คุณเกรียงไกร นพสงค์ และคุณปัญจะ จิตรโสภี ได้มีแนวคิดที่จะเชิญ คุณพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนที่ 4 ทำให้ สมาคมวอลเลย์บอลฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารงานในยุคเก่าออก และปรับเปลี่ยนระบบ การบริหารงานให้มีการพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้น
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10, 11 และ 12 นักกีฬาทีมชายและทีมหญิงไทย ไม่สามารถนำเหรียญใดเหรียญหนึ่ง กับมายังประเทศไทยได้ แต่ด้วยความพยายาม ในการปรับปรุงทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลไทย โดยการส่งนักกีฬาทั้งทีมชาย และทีมหญิง ไปทำการฝึกซ้อมที่ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน รวมทั้งการขอโค้ชจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาฝึกสอนนักกีฬาไทย ในที่สุด วงการวอลเลย์บอลไทย ก็พบกับความสำเร็จ ในการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ ทีมชายได้เหรียญทอง และทีมหญิงได้เหรียญเงิน นอกจากนี้ วงการวอลเลย์บอลไทย ยังขยายรากฐาน เพื่อสร้างตัวผู้เล่นในระดับเยาวชน ด้วยการเริ่มต้น การแข่งขันวอลเลย์บอล “พาวเวอร์ ทัวร์นาเมนต์” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ที่จัดขึ้นครั้งแรก ในปี 2528 โดยได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด ในปี 2531 เริ่มต้นจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล “ยุวชนเครือซิเมนต์ไทย” รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ภายใต้การสนับสนุนจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และการแข่งขัน “ยุวชนเป๊ปซี่” รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ชิงถ้วย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทเสริมสุขจำกัด (มหาชน) นับเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญ ที่ปรากฎผลให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการจัดการแข่งขันครบทุกระดับอายุตั้งแต่ 14 ปี, 16 ปี และ 18 ปี ทำให้นักกีฬาไทย ทั้งทีมชาย และทีมหญิง สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ จนติดระดับโลกได้สมใจนึก การแข่งขันในประเทศไทย ได้เริ่มการแข่งขันในระดับรุ่นจิ๋ว 12 ปี เป็นการจัดการแข่งขัน “ไลออน มินิวอลเลย์บอล” จนมาถึง “ปลายิ้ม มินิวอลเลย์บอล” และปัจจุบันเป็น “วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล” ซึ่งจัดการแข่งขันปีนี้เป็นปีที่ 5 เช่นเดียวกับ การแข่งขันวอลเลย์บอล “ปตท.” ประชาชน ก, ข และ เยาวชน จากเดิมจนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ซีเล็คทูน่า” และยังได้จัดการแข่งขัน วอลเลย์บอลชายหาด ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อีกด้วย สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดหลายครั้ง โดยเฉพาะวอลเลย์บอลหญิง “เวิลด์กรังด์ปรีซ์” ที่ถือเป็น ศึกลูกยางระดับโลก ของทีมหญิงที่มีความสำคัญมากที่สุด วงการวอลเลย์บอลไทย พยายามสร้างภาพพจน์ และความเชื่อถือกับนานาประเทศ ทั้งในระดับอาเซียน, ระดับเอเชีย และระดับโลก เริ่มต้นจากการส่ง เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทย และนายธีระ แสงอรุณ เข้าไปร่วมการประชุมใหญ่ ของสหพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ วอลเลย์บอลเยาวชนชาย – หญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในปี 2529 จนได้รับการไว้ใจ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในรายการต่าง ๆ มากมาย นอกจากน เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ยังได้รับความไว้วางใจ ให้อยู่ในบอร์ดบริหาร ของสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย จนมาถึงปัจจุบัน ที่ได้รับเลือกให้เป็น ประธานสภาจัดการแข่งขัน รวมทั้งนายไกรสร จันศิริ อุปนายกสมาคมฯ ก็ได้รับเลือก ให้เป็น รองประธานสหพันธ์แห่งเอเชีย ในสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ก็ได้รับเลือก ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมการบริหาร สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ อีกด้วย นับเป็นการเรียกศรัทธาคืนมาได้อย่างยิ่งใหญ่และรวดเร็วที่สุด จากยุคนายพิศาล มูลศาสตรสาทร นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ปี 2528 เป็นต้นมา เป็นการเริ่มวางรากฐาน การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ของทีมวอลเลย์บอล จนสามารถอยู่ในระดับแนวหน้าของอาเซียนได้สำเร็จ สืบทอดมาถึง นายอารีย์ วงศ์อารยะ ที่เริ่มรับมอบตำแหน่งในปี 2534 ซึ่งยุคนี้ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย เริ่มสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ก้าวขึ้นมาสู่แถวหน้าของเอเชีย โดยยึดตำแหน่ง อันดับที่ 4 มาโดยตลอด ประวัติศาสตร์ในวงการวอลเลย์บอลไทย ต้องบันทึกไว้ในปี 2538 ทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย และหญิง ของไทย สามารถคว้าเหรียญทอง กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 มาครองได้สำเร็จ อย่างที่ไม่เคยมีประเทศไหนทำได้มาก่อน ต่อมา นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ นายกสมาคมฯ ตั้งแต่ในปี 2540 จนมาถึงปี 2546 มีผลงานที่โชติช่วงชัชวาล มากที่สุด ด้วยการเริ่มพัฒนา กีฬาวอลเลย์บอล ตั้งแต่ระดับรากหญ้า จนถึงจุดสูงสุด ทั้งระดับทวีปและระดับโลก ปาฎิหารย์เกิดขึ้นกับนักกีฬาวอลเลย์บอลไทยอย่างมากมาย แบบไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เริ่มต้นที่น ักกีฬาวอลเลย์บอลไทย สามารถสร้างประวัติศาสตร์เอาชนะไต้หวันได้เป็นครั้งแรก พร้อมก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 ของเอเชียอย่างสมศักดิ์ศรี พร้อมทั้งได้เป็นตัวแทน ของทวีปเอเชียครั้งแรก ไปร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก นอกจากนี้ นักกีฬาทีมชายก็เช่นกัน สามารถสร้างตำนานบทใหม่ ให้กับวงการวอลเลย์บอลไทย โดยได้สิทธิไปเข้าร่วมการแข่งขัน วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกได้สำเร็จ ในปี 2541 ถือเป็นปีทอง ของวงการวอลเลย์บอลไทยอย่างแท้จริง แต่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือสองนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิงไทย ที่สามารถสร้างปาฎิหาริย์บนผืนทราย สามารถคว้าเหรียญทอง กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่13 ณ กรุงเทพมหานคร คือ “หมู – อ้อย” นางสาวมนัสนันท์ แพงขะ และนางสาวรัตนาภรณ์ อาลัยสุข ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญทองเหรียญแรก ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดไทย จากการแข่งขันรายการนี้ ในปี 2544 สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และเป็นอีกหนึ่งปี ที่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญอีกหน เริ่มตั้งแต่ การได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชีย ไปแข่งขันชิงแชมป์โลก ในปี 2545 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน จากนั้นยังได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 21 เป็นเหรียญแรกของเมืองไทย หลังจากเข้าร่วมการแข่งขันมาตั้งแต่ ปี 2502 และที่สำคัญที่สุดเป็นการ เอาชนะ ทีมประเทศญี่ปุ่น ได้สำเร็จ พร้อมกับก้าวขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย ได้อย่างงดงาม และได้รับอันดับที่ 3 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ที่จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นเหรียญทองแดง เหรียญแรก ของไทยในเอเชีย ตั้งแต่เริ่ม แข่งขันเมื่อปี 2524 เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ นักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นจิ๋ว ชุดเยาวชนหญิงของไทย ยังได้เหรียญเงิน จากการแข่งขัน เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน ที่ทีมเยาวชนหญิง สร้างผลงานได้ล้ำหน้าทีมหญิงชุดใหญ่ ตำนานอีกหน้าหนึ่ง ของวงการวอลเลย์บอลไทย คือ การนำทีมนักกีฬาชาย และนักกีฬาหญิง ครองเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นการได้แชมป์คู่กันเป็นครั้งที่ 2 ต่อจากการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 แต่เป็นครั้งแรก ที่ได้ครองแชมป์คู่กัน ในการแข่งขันต่างประเทศ ปี 2545 เป็นครั้งแรกที่นักกีฬาทีมหญิงของไทย ติดอันดับ 1 ใน 8 ทีม ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน “เวิลด์กรังปรีซ์ 2002” ที่ถือเป็นแมตช์สำคัญที่สุดของโลก นอกจากนี้ นักกีฬาหญิงไทย ยังได้ครองอันดับ 2 ในการแข่งขันสโมสรหญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ ปี 2546 ทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย ได้รับการจัดอันดับ ให้อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก เป็นครั้งแรก และได้รับความไว้วางใจ ให้ไปแข่งขัน “เวิลด์กรังปรีซ์ 2003” อีกครั้ง ซึ่งปีนี้เพิ่มเป็น 12 ทีม นอกจากผลงาน ทางด้านการแข่งขัน ของนักกีฬาทีมชาติไทย จะประสบความสำเร็จแล้ว สมาคมวอลเลย์บอลฯ พัฒนาระบบการทำงานต่าง ๆ จนทาง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ไว้วางใจ ประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลาง การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลแห่งเอเชีย รวมทั้งการให้การสนับสนุนทีมเยาวชนหญิง รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เข้าสู่ระดับโลก ตามโครงการเตรียมทีมชาติ ค.ศ. 2001 ซึ่งถือว่าเ ป็นการเตรียมทีมชุดดรีมทีม ที่ขณะนี้กลายเป็นกำลังหลักสำคัญ ของทีมชาติไทย ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ได้แก่ ทีมวอลเลย์บอลหญิงประเทศเบลเยี่ยม, ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน ที่ได้ไปแข่งขันโอลิมปิก 2004, ประเทศอิสราเอล และประเทศเม็กซิโก ส่วนทีมชาย ได้แ ประเทศออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันเป็นทีมในเอเชียทีมเดียว ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก 2004, ประเทศบาห์เรน, ประเทศสาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศอิหร่าน, ประเทศเม็กซิโก, ประเทศโปตุเกส, ประเทศสวีเดน, ประเทศตูนิเซีย, ประเทศเวเนซุเอลา โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จนปิดฉากในปี 2544 ปี 2546 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รับหน้าที่เป็นนายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคนี้ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงเป็น เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คนเก่าคนแก่ หรือคีย์แมนคนสำคัญ ที่รับตำแหน่งนี้มาโดยตลอด และได้ผันตัวเอง ไปเป็นประธานฝ่ายต่างประเทศ แล้วปล่อยใหก้ าอี้เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลฯ เปลี่ยนมาเป็น ดร.ประเวช รัตนเพียร ซึ่งเดิมรับตำแหน่งรองเลขาธิการสมาคมฯ มาหลายสมัย ปี 2546 นักกีฬาหญิงไทย สร้างผลงานอย่างดี แบบต่อเนื่อง จนถึงปี 2547 นักกีฬาไทย เอาชนะ ทีมเกาหลีใต้ ได้เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันรายการ “เวิลด์กรังปรีซ์ 2004” แสดงให้เห็นว่า นักกีฬาไทย สามารถเอาชนะประเทศระดับแนวหน้าของเอเชีย ได้หมดแล้ว เช่น ประเทศไต้หวัน ที่ไทยชนะมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ก็เคยชนะได้แค่เพียงหนเดียว อย่างไรก็ดี เหลือแค่ประเทศจีนเพียงทีมเดียว ที่ประเทศไทยยังไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะความเสียเปรียบด้านรูปร่าง แต่ก็เริ่มขยับสกอร์เข้าไปใกล้ทุกที ในยุคก่อนหน้านี้ ผลงานของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย มีความก้าวหน้า แต่พอได้เข้าไปอยู่ในระดับโลก ผลงานกลับค่อย ๆ ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ทีมเยาวชนหญิงไทย ก็ได้แค่รองแชมป์เอเชีย เพียงครั้งเดียว แต่หลังจากนั้น ก็กลับไปอยู่อันดับ 4 เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับทีมชุดใหญ่ ก็ยึดได้เพียงอันดับ 4 ของเอเชียเช่นเดิม พอไปแข่งขันเวิลด์กรังปรีซ์ ก็ได้อันดับท้าย ๆ เพราะความเสียเปรียบ ทางด้านรูปร่าง ขณะเดียวกัน ทีมนักกีฬาหญิงไทย ก็มีการพัฒนาอยู่เพียงแค่ชุดเดียว แม้แต่ทีมเยาวชนหญิงไทย ยังไม่สามารถสืบสานความสำเร็จไว้ได้ ส่วนทีมวอลเลย์บอลชายหาด ก็โดนทอดทิ้งเช่นกัน ไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง หลังจากได้รับความสำเร็จ มาในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2541 โดยทางสมาคมวอลเลย์บอลฯ ก็ได้พยายามผลักดัน นักกีฬาวอลเลย์บอลของไทย เพื่อให้ได้รับสิทธิ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2000 ให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น วอลเลย์บอลชายหาด ก็ตกต่ำลงมาเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับนักกีฬาทีมชาย (ในร่ม) ก็แทบจะไม่มีการแข่งขันรายการใด ๆ เลย และไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ได้ทำการเก็บตัวฝึกซ้อม อย่างจริงจัง เหมือนกับนักกีฬาทีมหญิง ที่มีเป้าหมายหลัก จะต้องไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ให้ได้ แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลว อีกเช่นกัน
ประวัติวอลเลย์บอล
http://www.seagames2007/
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล ในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้1.เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 27. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา
กติกาวอลเลย์บอลการแข่งขันใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที ตำแหน่งของผู้เล่นในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมการเล่นลูกบอลผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟการเสิร์ฟจะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาทีการตบลูกบอลผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสียการบล็อกผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
แนะนำตัวเอง
ประวัติ
ชื่อ นายชนินทร์ ทองสุทธิ์ รัหสนิสิต 51011321116
สาขาวิชา การเมืองการปกครอง
คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
ระบบพิเศษ
อายุ 20 ปี
เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 19 หมู่ 4 ต.ไพศาล อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด 45170
นิสัย ร่าเริง แจ่มใส โกรธง่ายหายเร็ว
อาหารที่ชอบ ก้อยกุ้ง ลาบเป็ด ต้มแซบ ต้มป่า ข้าวผัด ยำรวมมิตร
สีที่ชอบ สีฟ้า ขาว ดำ เขียว น้ำตาล
กีฬาที่ชอบ วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ
รางวัลที่ภูมิใจ รองชนะเลิศอันดับสอง กีฬานักเรียนนักศึกษา รอบคัดเลือกตัวแทนเขต4
ชนะเลิศอันดับหนึ่ง กีฬานักเรียนนักศึกษา รับคัดเลือกตัวแทนจังหวัดร้อยเอ็ด
อนาคต เป็นคนดีของสังคม
ประวัติการศึกษา
จบประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด
จบมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม
จบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
ขนาดนี้กำลังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยมหาสารคาม คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 1
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย พระอาจารย์ศรี มหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์นี้ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสี ทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือนอยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสมถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระมหาเจดีย์นี้ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสี ทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือนอยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสมถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ปฐมเหตุการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล
เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 อันเป็นวันรวมกฐินสามัคคีของ วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ในวันนั้น พระคุณเจ้าพระราชสังวรอุดม(หลวงปู่ศรี มหาวีโร)มื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ)ได้ปรารภกับที่ประชุมสงฆ์ศิษยานุศิษย์ว่า “ได้รับพระบรมสารีริกธาตุเป็นกรณีพิเศษ และได้พิจารณาเห็นว่า ครูบาอาจารย์สายอีกสาน์ ผู้มีความรู้ระดับสูงระดับ นักปราชญ์ และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติท่านได้ ทำคุณประโยชน ให้แก่ประเทศชาติ และพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรก่อสร้างถาวรวัตถุสำหรับ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานไว้เป็นการพิเศษในสถานที่เป็นศูนย์กลางเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใคร่มาศึกษาและสักการะบูชาสืบไป”ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรก่อสร้างพระมหาเจดีย์ที่วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย) และได้นำมติดังกล่าวไปหารือที่ประชุมสังฆาธิการภาค 8 ,9, 10, 11, (ธรรมยุติ)ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบด้วยพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานกรรมการก่อสร้าง และเป็นประธานยกเสาเอก หลังจากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยอาศัยแรงศรัทธา จากชาวพุทธทั่วสารทิศ รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงได้เป็น พระมหาเจดีย์ชัยมงคลขึ้นมา ให้เราได้กราบไหว้บูชาในปี พ.ศ.2540 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานที่องค์ ์พระมหาเจดีย์ 3 วาระ โดยในวาระที่ 3 เป็นกรณีพิเศษ คือ ทางรัฐบาลประเทศศรีลังกาโดยสมเด็จพระสังฆราชศรีลังกา ได้เสด็จอัญเชิญพระบรมสารีริกธาต มาประ ดิษฐานที่องค์พระมหาเจดีย์ด้วยพระองค์เอง
ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
1. ถอดหมวก ถอดรองเท้า
2. อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์
3. กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ
4. ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์
5. กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้
6. ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์
7. กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
8. ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมารายละเอียดเพิ่มเติม ของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
กีต้าร์
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้นผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก
หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียงของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้ ซึ่งผมเข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียงของกีตาร์กับเสียงร้องได้การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง) น่าจะมาจากนักร้องในยุคกลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็นอิสระและอยากจะทำจึงมีการผสมกันกับรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลงโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก ลูกสู่หลาน เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความเป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข ์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มากและโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับเข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลงทำให้เกิดรูปแบบของดนตรีในแบบใหม่ ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือคนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอดมาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกนเป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐานของดนตรีอีกหลาย ๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อคหรือแจ๊สในปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้กีตาร์มีความสำคัญกับดนตรีแทบทุกชนิด แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ สแปนนิช 6 สาย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิค ซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดงคอนเสิร์ท(หมายถึงดนตรีคลาสสิก) หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนจากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก 5 สายเป็น 6 สาย ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยายขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้ Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วเป็นผูู้ที่พัฒนาและทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จนกระทั่งมาถึงยุคของ Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของเพลงป๊อปในอเมริกาในช่วง 1930 กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไปผสมกับกระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จักกันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์ หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของดนตรียุคนั้นและทำให้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1940
หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ที่สุดยอดอีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา เขาได้สร้างเครื่องขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่มควบคุมเสียงดังเบาและทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้นแบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่ เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นเขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลงกีตาร์โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ในปี 1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster (คงคุ้นหูกันนะครับ) ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่นแรกที่ซื้อขายกันในเชิงพาณิชย์และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)