วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

วอลเลย์บอล




สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
http://www.thaivolleyball.or.th/about.html

สมาคมวอลเลย์บอลฯ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี 2502 ในชื่อสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยมี พลโทสุรจิต จารุเศรณี เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก ต่อด้วย นายบุญชิต เกตุรายนาค เป็นนายกสมาคมฯ คนที่ 2 จนถึงคนที่ 3 พันเอกอนุ รมยานนท์ ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2520 เป็นต้นมา กีฬาวอลเลย์บอลในเมืองไทย ก็ก้าวสู่ความตกต่ำอย่างน่าใจหาย จนถูกสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติ ขับออกจากการเป็นสมาชิกสหพันธ์ เนื่องจากไม่ได้จ่ายค่าบำรุง ติดต่อกันมาถึง 8 ปี ถือว่าเป็นยุคที่มืดมนที่สุด แทบจะไม่มีใครคิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้ ปี 2528 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลฯ ภายใต้แกนนำของ คุณกิจ พฤกษ์ชะอุ่ม, คุณเกรียงไกร นพสงค์ และคุณปัญจะ จิตรโสภี ได้มีแนวคิดที่จะเชิญ คุณพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนที่ 4 ทำให้ สมาคมวอลเลย์บอลฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารงานในยุคเก่าออก และปรับเปลี่ยนระบบ การบริหารงานให้มีการพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้น
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10, 11 และ 12 นักกีฬาทีมชายและทีมหญิงไทย ไม่สามารถนำเหรียญใดเหรียญหนึ่ง กับมายังประเทศไทยได้ แต่ด้วยความพยายาม ในการปรับปรุงทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลไทย โดยการส่งนักกีฬาทั้งทีมชาย และทีมหญิง ไปทำการฝึกซ้อมที่ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน รวมทั้งการขอโค้ชจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาฝึกสอนนักกีฬาไทย ในที่สุด วงการวอลเลย์บอลไทย ก็พบกับความสำเร็จ ในการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ ทีมชายได้เหรียญทอง และทีมหญิงได้เหรียญเงิน นอกจากนี้ วงการวอลเลย์บอลไทย ยังขยายรากฐาน เพื่อสร้างตัวผู้เล่นในระดับเยาวชน ด้วยการเริ่มต้น การแข่งขันวอลเลย์บอล “พาวเวอร์ ทัวร์นาเมนต์” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ที่จัดขึ้นครั้งแรก ในปี 2528 โดยได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด ในปี 2531 เริ่มต้นจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล “ยุวชนเครือซิเมนต์ไทย” รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ภายใต้การสนับสนุนจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และการแข่งขัน “ยุวชนเป๊ปซี่” รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ชิงถ้วย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทเสริมสุขจำกัด (มหาชน) นับเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญ ที่ปรากฎผลให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการจัดการแข่งขันครบทุกระดับอายุตั้งแต่ 14 ปี, 16 ปี และ 18 ปี ทำให้นักกีฬาไทย ทั้งทีมชาย และทีมหญิง สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ จนติดระดับโลกได้สมใจนึก การแข่งขันในประเทศไทย ได้เริ่มการแข่งขันในระดับรุ่นจิ๋ว 12 ปี เป็นการจัดการแข่งขัน “ไลออน มินิวอลเลย์บอล” จนมาถึง “ปลายิ้ม มินิวอลเลย์บอล” และปัจจุบันเป็น “วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล” ซึ่งจัดการแข่งขันปีนี้เป็นปีที่ 5 เช่นเดียวกับ การแข่งขันวอลเลย์บอล “ปตท.” ประชาชน ก, ข และ เยาวชน จากเดิมจนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ซีเล็คทูน่า” และยังได้จัดการแข่งขัน วอลเลย์บอลชายหาด ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อีกด้วย สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดหลายครั้ง โดยเฉพาะวอลเลย์บอลหญิง “เวิลด์กรังด์ปรีซ์” ที่ถือเป็น ศึกลูกยางระดับโลก ของทีมหญิงที่มีความสำคัญมากที่สุด วงการวอลเลย์บอลไทย พยายามสร้างภาพพจน์ และความเชื่อถือกับนานาประเทศ ทั้งในระดับอาเซียน, ระดับเอเชีย และระดับโลก เริ่มต้นจากการส่ง เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทย และนายธีระ แสงอรุณ เข้าไปร่วมการประชุมใหญ่ ของสหพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ วอลเลย์บอลเยาวชนชาย – หญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ในปี 2529 จนได้รับการไว้ใจ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในรายการต่าง ๆ มากมาย นอกจากน เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ยังได้รับความไว้วางใจ ให้อยู่ในบอร์ดบริหาร ของสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย จนมาถึงปัจจุบัน ที่ได้รับเลือกให้เป็น ประธานสภาจัดการแข่งขัน รวมทั้งนายไกรสร จันศิริ อุปนายกสมาคมฯ ก็ได้รับเลือก ให้เป็น รองประธานสหพันธ์แห่งเอเชีย ในสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ก็ได้รับเลือก ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมการบริหาร สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ อีกด้วย นับเป็นการเรียกศรัทธาคืนมาได้อย่างยิ่งใหญ่และรวดเร็วที่สุด จากยุคนายพิศาล มูลศาสตรสาทร นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ปี 2528 เป็นต้นมา เป็นการเริ่มวางรากฐาน การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ของทีมวอลเลย์บอล จนสามารถอยู่ในระดับแนวหน้าของอาเซียนได้สำเร็จ สืบทอดมาถึง นายอารีย์ วงศ์อารยะ ที่เริ่มรับมอบตำแหน่งในปี 2534 ซึ่งยุคนี้ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย เริ่มสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ก้าวขึ้นมาสู่แถวหน้าของเอเชีย โดยยึดตำแหน่ง อันดับที่ 4 มาโดยตลอด ประวัติศาสตร์ในวงการวอลเลย์บอลไทย ต้องบันทึกไว้ในปี 2538 ทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย และหญิง ของไทย สามารถคว้าเหรียญทอง กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 มาครองได้สำเร็จ อย่างที่ไม่เคยมีประเทศไหนทำได้มาก่อน ต่อมา นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ นายกสมาคมฯ ตั้งแต่ในปี 2540 จนมาถึงปี 2546 มีผลงานที่โชติช่วงชัชวาล มากที่สุด ด้วยการเริ่มพัฒนา กีฬาวอลเลย์บอล ตั้งแต่ระดับรากหญ้า จนถึงจุดสูงสุด ทั้งระดับทวีปและระดับโลก ปาฎิหารย์เกิดขึ้นกับนักกีฬาวอลเลย์บอลไทยอย่างมากมาย แบบไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เริ่มต้นที่น ักกีฬาวอลเลย์บอลไทย สามารถสร้างประวัติศาสตร์เอาชนะไต้หวันได้เป็นครั้งแรก พร้อมก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 ของเอเชียอย่างสมศักดิ์ศรี พร้อมทั้งได้เป็นตัวแทน ของทวีปเอเชียครั้งแรก ไปร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก นอกจากนี้ นักกีฬาทีมชายก็เช่นกัน สามารถสร้างตำนานบทใหม่ ให้กับวงการวอลเลย์บอลไทย โดยได้สิทธิไปเข้าร่วมการแข่งขัน วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกได้สำเร็จ ในปี 2541 ถือเป็นปีทอง ของวงการวอลเลย์บอลไทยอย่างแท้จริง แต่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือสองนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิงไทย ที่สามารถสร้างปาฎิหาริย์บนผืนทราย สามารถคว้าเหรียญทอง กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่13 ณ กรุงเทพมหานคร คือ “หมู – อ้อย” นางสาวมนัสนันท์ แพงขะ และนางสาวรัตนาภรณ์ อาลัยสุข ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญทองเหรียญแรก ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดไทย จากการแข่งขันรายการนี้ ในปี 2544 สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และเป็นอีกหนึ่งปี ที่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญอีกหน เริ่มตั้งแต่ การได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชีย ไปแข่งขันชิงแชมป์โลก ในปี 2545 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน จากนั้นยังได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 21 เป็นเหรียญแรกของเมืองไทย หลังจากเข้าร่วมการแข่งขันมาตั้งแต่ ปี 2502 และที่สำคัญที่สุดเป็นการ เอาชนะ ทีมประเทศญี่ปุ่น ได้สำเร็จ พร้อมกับก้าวขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย ได้อย่างงดงาม และได้รับอันดับที่ 3 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ที่จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นเหรียญทองแดง เหรียญแรก ของไทยในเอเชีย ตั้งแต่เริ่ม แข่งขันเมื่อปี 2524 เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ นักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นจิ๋ว ชุดเยาวชนหญิงของไทย ยังได้เหรียญเงิน จากการแข่งขัน เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน ที่ทีมเยาวชนหญิง สร้างผลงานได้ล้ำหน้าทีมหญิงชุดใหญ่ ตำนานอีกหน้าหนึ่ง ของวงการวอลเลย์บอลไทย คือ การนำทีมนักกีฬาชาย และนักกีฬาหญิง ครองเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นการได้แชมป์คู่กันเป็นครั้งที่ 2 ต่อจากการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 แต่เป็นครั้งแรก ที่ได้ครองแชมป์คู่กัน ในการแข่งขันต่างประเทศ ปี 2545 เป็นครั้งแรกที่นักกีฬาทีมหญิงของไทย ติดอันดับ 1 ใน 8 ทีม ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน “เวิลด์กรังปรีซ์ 2002” ที่ถือเป็นแมตช์สำคัญที่สุดของโลก นอกจากนี้ นักกีฬาหญิงไทย ยังได้ครองอันดับ 2 ในการแข่งขันสโมสรหญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ ปี 2546 ทีมนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย ได้รับการจัดอันดับ ให้อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก เป็นครั้งแรก และได้รับความไว้วางใจ ให้ไปแข่งขัน “เวิลด์กรังปรีซ์ 2003” อีกครั้ง ซึ่งปีนี้เพิ่มเป็น 12 ทีม นอกจากผลงาน ทางด้านการแข่งขัน ของนักกีฬาทีมชาติไทย จะประสบความสำเร็จแล้ว สมาคมวอลเลย์บอลฯ พัฒนาระบบการทำงานต่าง ๆ จนทาง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ไว้วางใจ ประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลาง การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลแห่งเอเชีย รวมทั้งการให้การสนับสนุนทีมเยาวชนหญิง รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เข้าสู่ระดับโลก ตามโครงการเตรียมทีมชาติ ค.ศ. 2001 ซึ่งถือว่าเ ป็นการเตรียมทีมชุดดรีมทีม ที่ขณะนี้กลายเป็นกำลังหลักสำคัญ ของทีมชาติไทย ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ได้แก่ ทีมวอลเลย์บอลหญิงประเทศเบลเยี่ยม, ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน ที่ได้ไปแข่งขันโอลิมปิก 2004, ประเทศอิสราเอล และประเทศเม็กซิโก ส่วนทีมชาย ได้แ ประเทศออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันเป็นทีมในเอเชียทีมเดียว ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก 2004, ประเทศบาห์เรน, ประเทศสาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศอิหร่าน, ประเทศเม็กซิโก, ประเทศโปตุเกส, ประเทศสวีเดน, ประเทศตูนิเซีย, ประเทศเวเนซุเอลา โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา จนปิดฉากในปี 2544 ปี 2546 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รับหน้าที่เป็นนายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคนี้ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงเป็น เรืออากาศโท ชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คนเก่าคนแก่ หรือคีย์แมนคนสำคัญ ที่รับตำแหน่งนี้มาโดยตลอด และได้ผันตัวเอง ไปเป็นประธานฝ่ายต่างประเทศ แล้วปล่อยใหก้ าอี้เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลฯ เปลี่ยนมาเป็น ดร.ประเวช รัตนเพียร ซึ่งเดิมรับตำแหน่งรองเลขาธิการสมาคมฯ มาหลายสมัย ปี 2546 นักกีฬาหญิงไทย สร้างผลงานอย่างดี แบบต่อเนื่อง จนถึงปี 2547 นักกีฬาไทย เอาชนะ ทีมเกาหลีใต้ ได้เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันรายการ “เวิลด์กรังปรีซ์ 2004” แสดงให้เห็นว่า นักกีฬาไทย สามารถเอาชนะประเทศระดับแนวหน้าของเอเชีย ได้หมดแล้ว เช่น ประเทศไต้หวัน ที่ไทยชนะมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ก็เคยชนะได้แค่เพียงหนเดียว อย่างไรก็ดี เหลือแค่ประเทศจีนเพียงทีมเดียว ที่ประเทศไทยยังไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะความเสียเปรียบด้านรูปร่าง แต่ก็เริ่มขยับสกอร์เข้าไปใกล้ทุกที ในยุคก่อนหน้านี้ ผลงานของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย มีความก้าวหน้า แต่พอได้เข้าไปอยู่ในระดับโลก ผลงานกลับค่อย ๆ ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ทีมเยาวชนหญิงไทย ก็ได้แค่รองแชมป์เอเชีย เพียงครั้งเดียว แต่หลังจากนั้น ก็กลับไปอยู่อันดับ 4 เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับทีมชุดใหญ่ ก็ยึดได้เพียงอันดับ 4 ของเอเชียเช่นเดิม พอไปแข่งขันเวิลด์กรังปรีซ์ ก็ได้อันดับท้าย ๆ เพราะความเสียเปรียบ ทางด้านรูปร่าง ขณะเดียวกัน ทีมนักกีฬาหญิงไทย ก็มีการพัฒนาอยู่เพียงแค่ชุดเดียว แม้แต่ทีมเยาวชนหญิงไทย ยังไม่สามารถสืบสานความสำเร็จไว้ได้ ส่วนทีมวอลเลย์บอลชายหาด ก็โดนทอดทิ้งเช่นกัน ไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง หลังจากได้รับความสำเร็จ มาในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2541 โดยทางสมาคมวอลเลย์บอลฯ ก็ได้พยายามผลักดัน นักกีฬาวอลเลย์บอลของไทย เพื่อให้ได้รับสิทธิ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2000 ให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น วอลเลย์บอลชายหาด ก็ตกต่ำลงมาเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับนักกีฬาทีมชาย (ในร่ม) ก็แทบจะไม่มีการแข่งขันรายการใด ๆ เลย และไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ได้ทำการเก็บตัวฝึกซ้อม อย่างจริงจัง เหมือนกับนักกีฬาทีมหญิง ที่มีเป้าหมายหลัก จะต้องไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ให้ได้ แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลว อีกเช่นกัน



ประวัติวอลเลย์บอล

http://www.seagames2007/

กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล ในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้1.เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 27. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา
กติกาวอลเลย์บอลการแข่งขันใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที ตำแหน่งของผู้เล่นในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมการเล่นลูกบอลผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟการเสิร์ฟจะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาทีการตบลูกบอลผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสียการบล็อกผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
มื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น